BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

สอบวันที่สี่

สอบวิชา การแต่งงานในพันธสัญญาเดิม ภาคกฏหมายและประกาศก

วันนี้สอบเขียน...

ให้เลือกตอบเพียงข้อเดียว..ก็เลยเลือกหัวข้อ..

การแต่งงานที่เป็นสัญลักษณ์ในหนังสือประกาศกโฮเชยา..

ซึ่งมี ๓ บทเท่านั้นที่พูดถึงเรื่องการแต่งงานไว้อย่างชัดเจน คือ บทที่ ๑ ถึง บทที่ ๓

ในบทที่ ๑
มีความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น..

พระเจ้าทรงสั่งให้ประกาศกโฮเชยาไปแต่งงานกับหญิงโสเภณีคนหนึ่งและให้กำเนิดบุตรกับนาง..

เพราะว่า แผ่นดินเต็มไปด้วยการผิดประเวณี และความไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า
และประกาศกโฮเชยาก็ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า..โดยการแต่งนางกับหญิงโสเภณี..

พระเจ้าทรงต้องการบอกกับชาวอิสราเอลว่า.. พวกเขานั้นไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์
พวกเขาเป็นเหมือนหญิงโสเภณี.. พวกเขาเป็นชู้
เพราะว่า พวกเขาหันตัวเองไปนมัสการ หรือ หันไปเคาพรรูปเคารพอื่น ไม่ใช่พระเจ้าเที่ยงแท้..

และที่สำคัญไปอีกกว่านั้นก็คือ ชื่อของลูกทั้งสามคน..

คนแรกชื่อว่า ยิสราเอล
คนที่สองชื่อว่า ไม่รัก หรือ ไม่ให้อภัย
คนที่สามชื่อว่า ไม่ใช่ประชากร

ทุกอย่างล้วนมีความหมายที่พระเจ้าต้องการจะสอน บอก และเตือนชาวอิสราเอลทั้งสิ้น..

เนื่่องจากสาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ทำให้ชาวอิสราเอลนอกใจพระเจ้า
เป็นชู้กับรูปเคารพอื่น

ซึ่งการเป็นชู้ หรือ การผิดประเวณีนั้น เป็นเรื่องที่รุนแรง และต้องรับโทษสถานหนัก..
การเป็นชู้ หรือ การผิดประเวณีนั้น ต้องโทษถึงตาย

และผลของความไม่ซื่อสัตย์แสดงออกมาในชื่อของลูกทั้งสามของประกาศก
พระเจ้าไม่รัก หรือ ไม่ให้อภัยชาวอิสราเอลต่อไปอีกแล้ว
พระเจ้าไม่นับว่า ชาวอิสราเอลเป็นประชากรที่เลือกสรรของพระองค์อีกต่อไปแล้ว

หากเป็นเช่นนี้ พวกเขาจะขาดซึ่งพระหรรษทาน การอวยพร การปกป้องจากพระเจ้า

ในบทที่ ๒
ประกาศกได้พูดถึงสถานการณ์ของประชากรซึ่งได้หันหน้าไปหาพระอื่น
ซึ่งพวกเขาคิดว่า จะนำความสุข ความอุดมสมบูรณ์มาสู่ชีวิตของพวกเขา

ประกาศกได้เปรียบเทียบความไม่ซื่อสัตย์ของชาวอิสราเอลว่าเป็นเหมือนความสัมพันธ์
ระหว่างสามี และ ภรรยา

ในความรู้สึกแรกต้องการที่จะตัดขาดจากนาง ต้องการที่จะลงโทษนางที่มีชู้
ในอีกความรู้สึกหนึ่ง ต้องการการคืนกลับมา ต้องการการกลับใจ

ในบทที่ ๓
ได้พูดถึง การตามหาภรรยาที่เป็นชู้ หรือ ผิดประเวณี เพื่อจะเรียกให้กลับคืนมา..
เพื่อจะรับนางมาเป็นภรรยาอีกครั้งหนึ่ง

ในทำนองเดียวกัน  พระเจ้าก็ออกติดตาม ตามหาผู้ที่หลงผิด ติดตามพระอื่น
เอาใจออกหาจากพระองค์เช่นกัน

สรุปไตร่ตรอง...

แม้ว่า ภรรยาของประกาศกจะเป็นหญิงโสเภณี ประกาศกก็ยังรัก และสร้างชีวิต
สร้างครอบครัวกับนาง และให้กำเนิดบุตรกับนาง..

พระเจ้าก็เช่นกัน.. แม้ว่ามนุษย์จะทำผิดต่อพระองค์อย่างมากมาย หลายครั้งนับไม่ถ้วน.
แต่พระองค์ก็ยังคงรัก และคอยดูแลมนุษย์เสมอ เสมือนสามีดูแลภรรยา

สามี..ในยุคปัจจุบันนี้..ทำเช่นนี้ได้หรือ?
ยอมรับการมีชู้ หรือ การผิดประเวณีของภรรยาของตนเองได้หรือ?
หรือ ยังรัก ยังยกย่องให้เกียรติภรรยามีชู้ ผิดประเวณีได้หรือ?

คงจะเป็นไปได้ยาก.. เพราะการผิดประเวณี หรือการมีชู้..เป็นการทำลายทุกอย่างของสามี
แต่พระเจ้า..ทำได้..เพราะความรักไม่มีขอบเขต..

ภรรยาจะพบสามีที่ให้อภัยในความผิด บกพร่องที่ใหญ่ขนาดนี้ได้หรือ??
ภรรยาจะสามารถคบชู้ ผิดประเวณีได้ตามใจตนเองปรารถนาได้หรือ?

คงเป็นไปไม่ได้.. และไม่ควรที่จะทำด้วย..เพราะเป็นการทำลายชีวิตครอบครัวของตนเอง..

ชีวิตการแต่งงานของประกาศก ขึ้นอยู่กับพระเจ้า..
พระเจ้าทรงเป็นพื้นฐาน เป็นเหมือนกับผู้อยู่เบื้องหลังของการแต่งงานของมนุษย์
พระประสงค์ของพระเจ้า..คือความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษย์
ซึ่งแสดงออกทางการแต่งงาน..หนึ่งเดียวเท่านั้น..

อันที่จริง..ชีวิตการแต่งงานของประกาศก เป็นเครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์ที่แสดงออกถึง..
ความรักของพระเจ้า
การให้อภัย
การรอคอย
การเอาใจใจ
ต่อมนุษย์อย่างหาที่สุดไม่ได้

มนุษย์ก็ควรที่จะเรียนแบบความรักของพระองค์
พยายามเดินไปในเส้นทางแห่งความรักที่หาขอบเขตไม่ได้
พยายามทำให้ความรักของพระเจ้าเป็นจริงในชีวิตคู่ของตนเอง

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

สอบวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกของการสอบ  ลำดับสอบที่ ๔๔
กว่าจะสอบเสร็จ..ก็ต้องรอจนถึง ๑๗.๐๐ น.
กว่าจะกลับถึงบ้าน.. ก็ต้องรอจนถึง ๑๘.๑๕ น.
ต้องฝ่าอากาศที่หนาวเย็นอีกต่างหาก..

ลำบากและทุกข์ยากจริง จริงเลย

วันนี้สอบเรื่อง..

ในหัวข้อ..การหย่าร้างไม่ได้..

เงื่อนไขของการแต่งงานคือ การหย่าร้างไม่ได้..
หลายคนมองว่า เป็นเรื่องของศาสนคริสต์เท่านั้น ที่มีเงื่อนไขเช่นนี้..
และคริสตชนเองก็มองว่า การหย่าร้างไม่ได้เป็นสัจจธรรม ที่ยืนยันถึงความเชื่อของเราเท่านั้น..
และเป็นเรื่องของชาวคริสต์เท่านั้น

คนที่ไม่ใช่คริสต์ก็ไม่ต้องถือ  ก็ไม่ต้องปฏิบัติ..ก็สามารถแยกกัน หย่ากันได้ตามสบาย และง่าย ๆ
คุณคิดผิดแล้ว..

แท้จริงแล้ว..

การแต่งงานเป็นการหย่าร้างไม่ได้โดยตัวของมันเอง
หย่าร้างไม่ได้โดยธรรมชาติของมันเอง

เพราะการแต่งงานที่หย่าร้างไม่ได้นี้สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคน
ไม่ใช่เฉพาะผู้มีความเชื่อเท่านั้น เพียงแต่ว่า ผู้มีความเชื่อนั้น ให้ความหมายในลักษณะที่แตกต่าง..

ทำไมการแต่างานจึงหย่าร้างไม่ได้โดยธรรมชาติ??

เพราะว่า การหย่าร้างไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความดีส่วนรวม.. ความดีพื้นฐาน
นั่นคือ ความดีของมนุษย์

ที่สำคัญ..แม้ว่าจะมีการอย่าร้างเกิดขึ้นระหว่างสามีและภรรยา..


พึงรับรู้ไว้ว่า ข้อผูกมัน หรือ พันธสัญญาระหว่างกันนั้น...ไม่ได้สูญหายไปไหน
การหย่าร้าง..ไม่ได้เป็นการยกเลิกพันธะของการแต่งงาน
และ เงื่อนไขของการแต่งงานนี้ไม่มีวันสิ้นสุด..จะคงอยู่ตลอดไป..

ในตัวของ สามีและภรรยา.. เอง

การหย่าร้าง..ถือว่าเป็นความชั่วในตัวเอง
เพราะว่า เป็นการต่อต้านความดีของมนุษย์
ทำลายความสัมพันธ์ และพันธสัญญา หรือข้อผูกมัดที่มีต่อกันและกัน...


หัวข้อที่สอง.. Tabù dell'incesto  คือ ข้อห้ามการผิดประเวณีในครอบครัวของตนเอง

หมายความว่า เป็นข้อห้ามการมีความสัมพันธ์ทางเพศระว่างพ่อกับลูก หรือ พี่ชายกับน้องสาว
หรือ ลุงกับหลาน

กฎข้อห้ามนี้ เป็นกฎทางธรรมชาติที่ไม่สามารถละเมิด หรือฝ่าฝืนได้
กฎข้อห้ามนี้ เป็นกฎที่มีอยู่ในทุกสังคมและวัฒนธรรม นั่นคือ เป็นกฎสากล
กฎข้อห้ามนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระทำทางเพศต่อกันและกัน

ข้อห้ามนี้ เป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด.. โดยปราศจากเหตุผลใดใดทั้งสิ้น

กฎข้อห้ามนี้ มันฝั่งอยู่ในตัวของมนุษย์   อยู่ในจิตสำนึก และการรับรู้ของมนุษย์ทุกคน
ไม่สามารถประนีประนอมหรือผ่อนปรนได้เลย..

ทำไม??

เพราะว่า คนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าพ่อ.. ไม่สามารถที่จะกลายเป็น.. สามี ได้
หรือ คนหนึ่งที่มีบทบาทของการเป็น.. แม่.. ก็ไม่สามารถที่จะกลายเป็นภรรยา..ได้
และในทำนองเดี๋ยวกันกับบทบาทของสมาชิกในครอบครัว..
บทบาทและเอกลักษณ์เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล..ไม่สามารถแทน หรือ เพิ่มขึ้นได้

ชื่อของครอบครัว คือ เอกลักษณ์ของที่เราได้รับมาจากการให้บทบาทของแต่ละคนในครอบครัวเรา

การละเมิด การฝ่าฝืน..เหมือนกับเป็นการทำลายธรรมชาติความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ทำลายความเป็นครอบครัวโดยธรรมชาติของตนเอง..

ผู้กระทำผิด หรือ ละเมิด.. สมควรตายสถานเดียวเท่านั้น.. (ตัดสินเอง)



หัวข้อที่สาม.. สิทธิของการแต่งงานตามธรรมชาติ


หัวข้อที่สี่.. ครอบครัวและการแต่งงานในบริบทของความสัมพันธ์เกี่ยวกับมนุษย์วิทยา



และสุดท้าย..

ก็นั่ง ซด..อาหารจีน..คือ บะหมี่นี่เอง

ซัดซะไม่เหลือแม้แต่น้ำ..แซบอีหลี...

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

พักสายตา

ไม่มีอะไรทำ.. หรือ ไม่ได้ทำอะไร..นอกจากอ่านหนังสือ..
ดูเหมือนจะเอาจริงเอาจัง..ที่ไหนได้..ก็เอาจริงอยู่

ศิลปะ..ช่วยจรรโลงใจ
ความสวยงาม..ทำให้ผ่อนคลาย

ชีวิตย่อมมีผูกและแก้
ชีวิตย่อมเครียดและปล่อยอารมณ์
ชีวิตย่อมโกรธและให้อภัย
ชีวิตย่อมท้อถอยและต่อสู้













การจะทำอะไรที่เน่นเกินไป..ก็ไม่ดี
การจะทำอะไรที่ผ่อนเกินไป..ก็ไม่ไดี
การจะทำอะไรเพียงแค่กึ่ง กึ่ง กลาง กลาง ก็ไม่ดี




การทำอะไรตามความเหมาะสม 




เป็นสิ่งที่พึงกระทำ..
เหมาะสมกับตัวเอง
เหมาะสมกับหน้าที่ของตัวเอง
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
เหมาะสมกับสถานการณ์
เหมาะสมกับเพศและวัย
เหมาะสมกับบรรยากาศ

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่วงเตรียมสอบ

การสอบกำลังจะเริ่มต้นอีกแล้ว...

สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ....

๑. ให้กำลังใจแก่ตัวเองจากถ้อยคำตัวเอง


เดี๋ยวก็จะผ่านไป
ได้แค่ไหน เอาแค่นั้น 
เตรียมเต็มที่ก็แล้วกัน

ไม่ยากเกินไปสำหรับเราหรอก..แค่นี้เอง
สิ่งที่ยากกว่านี้..ก็ผ่านมาแล้ว
ลำบากเดี๋ยวเดียว..ก็จะสบายแล้ว

อย่าคิดมากเลย.. ก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือดีกว่า
มันลำบากก็แค่ภาษา..ความรู้..ก็ได้มาอยู่แล้ว

การสอบไม่ยากหรอก..ถ้าเตรียมดีดี
สอบก็สอบ ไม่เป็นปัญหาอะไร

จะเครียดไปทำไม.. เอาจริงเอาจัง ทำจริงจริง จังจัง ดีกว่า
ไม่มีแค่เราหรอกที่ไม่ได้.. คนอื่นก็คงเท่า เท่ากันนั่นแหละ

คนอื่นทำได้  เราก็ทำได้
คนอื่นขยัน  เราก็ขยัน
คนอื่นไม่ขยัน  เราก็ยังขยัน..จะเป็นไร

พูดมันง่าย  แต่ทำมันยาก.. ถ้าพูดง่ายก็ไม่ต้องพูด..ทำมันไปเลย..ดีกว่า

สู้ สู้.. ถ้าไม่สู้หรือจะชนะ..

การสอบมีไว้เพื่อวัดดูว่า เราเตรียมตรงกับที่อาจารย์ต้องการหรือเปล่า??
การสอบ วัดที่ความรู้.. แต่ไม่ได้วัดชีวิตทั้งหมดของเรา..
การสอบ..เป็นไปตามระบบของมนุษย์ ที่ต้องการรู้ความก้าวหน้าของตน

การสอบ..ก็ยังดีกว่าไม่มีสอบ
ผลสอบจะเป็นอย่างไร.. ไม่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

การสอบ..ทำให้เพิ่มคุณค่าให้ตัวเองหรือ??
การสอบ..ทำให้คุณค่าของตัวเองลดลงหรือ??
เปล่าเลย..
การสอบเป็นเพียงการตรวจสอบความรู้ของเราเท่านั้นเอง

จะรู้มาก.. รู้น้อย ก็สำคัญอยู่..
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ รู้มาก..ต้องทำมาก.. รู้น้อย..ก็ทำน้อย
ทำตามความรู้..

ความจริงการสอบไม่ได้น่ากลัวอะไรเลย..
ที่น่ากลัวก็คือ คนไม่เตรียมสอบ ไม่เตรียมจัดระดับความรู้

กระบวนการสอบ.. ท่อง จำ เข้าใจ สอบ

ไม่ท่อง.. ก็ไม่จำ.. ไม่จำ..ก็ไม่เข้าใจ.. ไม่เข้าใจก็สอบไม่ได้..



วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

วันที่ ๕ มกราคม ๒๐๑๑


การไตร่ตรอง...บทเทศน์ พระสังฆราช ENRICO DAL COVOLO

"จงฟังเถิด"  บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์



4.     การทดลอง ความสงสัย และการต่อต้าน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา

            แน่นอนว่า แต่ละวันของชีวิตของการเป็นสงฆ์ย่อมมีหลายสิ่งที่เกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญก็คือ การกลับใจ  
                                            การกลับใจในแต่ละวัน และทุกวัน เพื่อจะได้เริ่มต้นใหม่
               ทุกคนมีความอ่อนแอ และผิดพลาด แม้แต่พระสงฆ์ การกลับใจจึงเป็นหนทางที่จะเริ่มต้นใหม่
              ในพระหรรษทานของพระเจ้า

เป็นการดีที่ผู้มีความเชื่อรู้และเข้าใจว่า พระสงฆ์เองก็สารภาพบาปด้วยความสม่ำเสมอ

การทดลอง.. เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในการเรียกของพระเจ้า  พระคริสตเจ้าเองก็ถูกทดลองเหมือนกันในทะเลทราย.. 
ดูเหมือนว่า การทดลองที่เกิดขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางความเชื่อ
                                                  น.ยอห์นมารีเวียเน กล่าวว่า เป็นบุญของวิญญาณที่ถูกผจญ  
เหมือนเป็นการยืนยันว่า การทดลองมีประโยชน์และมีความจำเป็น เพราะถือว่า เป็นการกระตุ้นความเชื่อ 
เพื่อบุคคลนั้น จะได้มีการดิ้นรนต่อสู้ เพื่อที่จะเอาชนะการผจญนั้น..

               สำหรับพระเยซูเจ้า.. พระองค์ทรงถูกต่อต้าน หรือ ทดลองจากบุคคล ๒ ประเภท นั่นคือ 
                       จากคนที่อยู่รอบข้าง และจากคนที่อยู่ใกล้ชิด หมายถึง พวกฟาริสี และบรรดาสาวก

จากพวกฟาริสี.
มีเป้าหมายในการทดลองพระเยซูเจ้า ซึ่งเห็นได้จากพระวรสาร มก 2, 1-3,6 มีดังนี้
·        เพราะว่า พระเยซูเจ้าให้อภัยคนบาป และพบปะ อยู่ร่วมกับคนบาป หญิงโสเภณี คนเก็บภาษี
·        เพราะว่า ศิษย์ของพระเยซูเจ้าไม่ถือศีลอดอาหาร
·        เพราะว่า พระเยซูเจ้าไม่เคารพวันสะบาโต
·        เพราะว่า พระเยซูเจ้ารักษาคนในวันสะบาโต
ในความเป็นจริงแล้ว เห็นผลเหล่านี้ต่างหากที่ทำให้พวกฟาริสีพยายามต่อต้านพระเยซูเจ้า
·        พวกฟาริสี ปฏิเสธพระเยซูเจ้า เพราะไม่ยอมรับว่า พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ในวิธีการต่าง ๆ 
           ที่พระองค์ได้แสดงออกมา
·        พวกฟาริสี ไม่ยอมรับพระเมสสิยาห์  ซึ่งประกาศข่าวดีแก่คนคนยากจน และใจดีมีเมตตาต่อทุกคน 
            และที่สุดเลือกที่จะตายบนกางเขน

จากบรรดาสาวก
บรรดาสาวกเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้ามากที่สุด รวมทั้งเราด้วย ซึ่งเป็นพระสงฆ์ แต่ในหลายครั้งชีวิตของพวกเขาก็คัดค้านและต่อต้านพระเยซูเจ้าอยู่เสมอ ๆ ในพระวรสารน.มาร์โก มี 2 รูปแบบของการกระทำของบรรดาสาวก
๑.     ความไม่เข้าใจ  มันยากเกินไปที่จะเข้ากันได้กับการประกาศของพระเยซูเจ้า
๒.    มีความเข้าใจ แต่ไม่ปฎิบัติตาม

ความไม่เข้าใจ
มก 1,35-38  
                พระเยซูเจ้าทรงหลบออกจากฝูงชนเพื่อไปยังที่เปลี่ยนเพื่ออธิษฐานภาวนา 
               เปโตร แสวงหาพระเยซูเจ้า เมื่อพบแล้วก็บอกว่า ทุกคนกำลังแสวงหาพระองค์...  
               เหมือนกับว่า เปโตรกำลังจะดึง เหนี่ยวรั้งพระเยซูเจ้าไว้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบต่อพระองค์..
ในความเป็นจริง พวกเขาไม่เข้าใจเลยว่า พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนที่ชื่นชอบ แต่เพื่อทุกคน 
ทุกแห่ง ทุกสถานที่

มก 5, 25-31 
             พระเยซูเจ้าถามว่า ใครแตะต้องตัวของเรา บรรดาศิษย์ตอบว่า พระองค์ก็ทรงเห็นแล้วว่าฝูงชนเบียดเสียดกันอย่างนี้ 
              แล้วจะมาถามอีกว่า ใครแตะต้องตัวของเรา..
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจเลย ผู้คนเข้ามาหาพระเยซูเจ้ามีหลายประเภท เช่น อยากรู้อยากเห็น 
หรือ ไม่ก็ตาม ๆ กันไป แต่มีหญิงคนหนึ่งที่คิดในใจว่า ถ้าเพียงฉันได้แตะเสื้อของพระเยซูเจ้า 
                              ฉันก็จะหายจากโรค.. นางเต็มเปี่ยมไปด้วยความเชื่อในพระองค์

มก 8, 14-21  
               ความไม่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่ออยู่บนเรือ และพระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า
                                     ระวังเชื้อแป้งของพวกฟาริสี และเฮโรด... 
              บรรสาวก คิดว่า พระเยซูเจ้าตำหนิพวกเขาที่ลืมนำเอาขนมปังมาด้วย พระเยซูเจ้าจึงตำหนิพวกเขาว่า 
              ทำไมถึงมีใจแข็งกระด้างเช่นนี้

                                   ความไม่เข้าใจ มาจาก หัวใจที่แข็งกระด้าง

เข้าใจ แต่ไม่ทำ
                  ตัวอย่างของเปโตร (มก 8, 27-33) ซึ่งดูเหมือนว่าจะเข้าใจพระเยซูเจ้า ตอบว่า 
                   “พระองค์คือ พระเมสสิยาห์ พระบุตรของพระเจ้า 
                 แต่เมื่อพระเยซูเจ้าประกาศถึงการรับทรมาน และความตาย  เปโตรจึงคัดค้านพระเยซูเจ้า 
                 และบอกว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ตรงจุดนี้ของพระวรสาร ซึ่งถือว่า เป็นศูนย์กลางทางโครงสร้างพระวรสารของนักบุญมาระโก.. 
พระเยซูเจ้าออกจากาลิลี มุ่งไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และตัดสินใจไปสู่เนินเขากัลป์วาลิโอ 
พระเยซูเจ้าเป็นเพียงคนหนึ่งที่ไปตายเพื่อทุกคน พระองค์ไม่ใช่ผู้นำทางการเมือง ไม่ใช่ผู้นำการต่อต้าน..

เปโตรเข้าใจว่าพระเยซูเจ้าเป็นใคร แต่คัดค้านพระองค์  ตรงจุดนี้เป็นปัญหา
                       ระว่าง การพูด และการทำ 
                                 ระหว่างความเข้าใจและการปฏิบัติ 
                                             ระหว่างคำพูดและชีวิต..

ไม่ใช่แค่การประกาศพระวรสารเท่านั้น
                     แต่จะต้องทำให้เป็นจริงในชีวิตของผู้ประกาศด้วย
ไม่ใช่แค่ประกาศถึงพระเยซูเจ้าว่าเป็นพระคริสตเจ้าและพระเมสสิยาห์ 
                       จำเป็นจะต้องเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปกับพระองค์จนถึงกางเขนด้วย
ไม่เป็นการเพียงพอเพียงแค่ในคำพูด..
                       แต่จำเป็นที่จะทำให้เป็นจริงในกลุ่มคริสตชนด้วย

                                                                          ดังนั้น..คุณจงไปและทำเถิด...




วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

วันที่ ๔ มกราคม ๒๐๑๑

การไตร่ตรอง...บทเทศน์ พระสังฆราช ENRICO DAL COVOLO


"จงฟังเถิด"  บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์





3. การเรียกและการตอบรับเพื่อการทำพันธกิจ

ทั้งการเรียกและการตอบรับของมนุษย์มีเป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งไปสู่พันธกิจของพระเยซูเจ้า 
               ซึ่งพระองค์ทรงไว้วางใจในการเรียกของพระองค์
       มองดูพระนางมารีอา เป็นแบบอย่างของหญิงที่เปี่ยมไปด้วยพระหรรษทาน  หญิงที่เต็มไปด้วยการตอบรับ
              และหญิงที่ร่วมในการแบ่งปันพันธกิจขององค์พระบุตร

บทอ่าน มธ 18
ใครเป็นในอาณาจักรสวรรค์ แล้วพระเยซูเจ้าก็เรียกเด็กเล็ก ๆเข้ามา 
          ตรัสว่า ถ้าท่านไม่กลับเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย..
      ท่านทั้งหลายคิดอย่างไร ถ้าชายคนหนึ่งมีแกะอยู่ร้อยตัว แล้วแกะตัวหนึ่งบังเอิญหลงทาง 
       เขาจะไม่ปล่อยแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้บนภูเขา เพื่อค้นหาแกะตัวที่หลงไปหรือ  
              ถ้าเขาหาแกะตัวนั้นพบแล้ว เขาจะรู้สึกยินดีที่พบมัน มากกว่ายินดีในแกะเก้าสิบเก้าตัวที่มิได้พลัดหลง

การรำพึง   มองดูสิ่งที่เกิดขึ้น
ส่วนที่หนึ่ง
     คำถาม ใครเป็นใหญ่ในพระอาณาจักรสรรค์?  คำตอบของพระเยซูเจ้าคือ การเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่ง
            ในพระวรสาร น.ลูกา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงเมตตาสงสาร บิดาของลูกล้างผลาญ 
            ซึ่งละแกะ 99 ไว้ และตามหาแกะตัวที่หลงไป
           ใน พระวรสาร น.มัทธิว เรื่องเล่าค่อนข้างเกี่ยวกับผู้นำของกลุ่มคริสตชน 
                      ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะ ละสายตา จากลูกแกะได้ แม้จะเป็นตัวที่อ่อนแอที่สุดก็ตาม
           ในพระวรสาร น.ลูกา ได้เน้นที่ความรักความเมตตาของพระเจ้า
          ในพระวรสาร น.มัทธิว เน้นที่ภาระหน้าที่ที่ได้รับ แน่นอนว่าเป็นของพระเจ้า และก็เป็นของผู้อภิบาลด้วย

มีความหมายอะไรสำหรับเรา?
           เพื่อที่จะไม่เป็นที่สะดุด เพื่อที่จะไม่สามารถละสายตาจากลูกแกะที่อ่อนแอ เพื่อที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ตามพระวรสาร..
           ผู้อภิบาลและกลุ่มคริสตชน ต้องรักษาสมดุลทั้งภายในและภายนอกให้ได้ ความสมดุลในความต้องการ  
           ความสมดุลแห่งจิตใจ

ส่วนที่สอง
     คำถามของน.เปโตร ถ้าพี่น้องทำผิด ต้องยกโทษ 7 ครั้งพอหรือ?  คำตอบก็คือ ต้องยกโทษให้ตลอดไป...
 พระเยซูเจ้าต้องการจะบอกว่า ผู้อภิบาลและผู้นำกลุ่มคริสตชน รวมทั้งเราด้วย พระสงฆ์..
            จะต้องเป็นเหมือนกับพระองค์ คือ ใจเมตตา และใจให้อภัย  จำเป็นที่จะต้องให้อภัยเสมอและตลอดไป..

                                    การแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นเพียงเล็กน้อย ก็จะร่ำรวยในความรักและความเตตา

การเป็นผู้อภิบาลจำต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานของพระเยซูเจ้า โ
    ดยเฉพาะความสามารถในการให้อภัยอย่างไม่มีขอบเขต รักษาสมดุลของตนเอง ทั้งภายในจิตใจและภายนอก 
        เพราะภายในเป็นอย่างไร  ภายนอกก็เป็นอย่างนั้น

การภาวนาและชีวิต
           ทุกการเรียก ทุกการตอบรับมีเพียงจุดประสงค์เดียวคือ 
           การทำพันธกิจของพระเยซูเจ้า ซึ่งจะต้องเป็นไปจนถึงเนินเขากัลป์วาลิโอ 
         โดยเฉพาะกระแสเรียกของการเป็นสงฆ์ จะต้องผ่านจุดนี้  และดำเนินชีวิตละม้ายคล้ายกับพระองค์
                       ผู้อภิบาลและผู้นำกลุ่มคริสตชน ถูกส่งออกไปโดยพระเยซูเจ้า เพื่อเป็นเครื่องหมายของกางเขน 
                      นั่นคือ การให้อภัยปราศจากเงื่อนไข  นี่คือ ภารกิจ หรือ หน้าที่ที่เริ่มต้นในการประกาศพระวรสาร 
                      ซึ่งจะเป็นพยานสำคัญในชีวิตด้วยเครื่องหมายของกางเขน นั่นเอง

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

วันที่ ๓ มกราคม ๒๐๑๑

การไตร่ตรอง... บทเทศน์ พระสังฆราช ENRICO DAL COVOLO

"จงฟังเถิด" บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์


เวลา ๑๖.๐๐ น.


๒.    การตอบรับของมนุษย์

 ลักษณะที่แท้จริงของการตอบรับก็คือ การเชื่อมโยงกันและความซื่อสัตย์..
ดูเหมือนว่าไม่ค่อยจะสำคัญเท่าไร..แต่ก็สำคัญมาก
            ในหลาย ๆ ครั้งชีวิตสงฆ์ของเรา..ก็เป็นเหมือนล่อตัวน้อยตัวนี้ ซึ่งมันพบทุ่งหญ้ามอสที่เขียวสด
             และส่งกลิ่นหอมเย้ายวนใจ
                      เมื่อพบแล้ว มันก็ตรงเข้าไปกินหญ้ามอสนี้ เท่าที่มันจะสามารถกินได้ 
                       เพราะความอร่อยของหญ้าและความหอมด้วย    
        ขณะที่มันกำลังกิน กินอยู่นั้น มันก็ได้กลิ่นหญ้ามอสที่หอมมากกว่า.. 
       มันจึงตามหา เพื่อจะได้กินหญ้ามอสที่หอมหวานนั้น 
                   มันออกเดินทางไปตามถนน มองซ้าย มองขาว หันหน้า หันหลัง ก็ไม่พบ แต่ความหอมนั้นก็ยังอยู่.. 
                 มันเดินแสวงหาไปเรื่อย ๆ ปีนขึ้นบนภูเขา หรือข้ามแม่น้ำเป็นเวลา ๒ วัน ๒ คืน ก็ไม่พบ แต่ความหอมก็ยังอยู่  
                ในที่สุด พอวันที่ ๓ มันหมดเรี่ยวแรง และก็ล้มลงบนพื้นดิน ขณะที่หัวของมันเอนลงกับพื้นดินนั้น 
                         หญ้ามอสที่มันตามหา ที่ส่งกลิ่นหอมนั้น ที่แท้ก็ติดอยู่ตรงหัวของมันเอง  
                        แต่ก็สายเกินไปแล้ว เพราะมันกำลังจะตาย..

เรา..พระสงฆ์ เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับความรักของพระเจ้า 
ประสบการณ์ในการถูกเรียกจากพระเจ้าให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์ 
                              หลายครั้ง.. เราพยายามแสวงหาพระเจ้าจากภายนอก จากการงาน จากหน้าที่ เราทำงานอย่างหนักเพื่อพบกับพระเจ้า  
                             เราหันซ้าย มองขาว แลหน้า แลหลัง แต่ก็ไม่พบ เพราะว่า ประสบการณ์แห่งความรักของพระเจ้าไม่ได้อยู่ภายนอก..แต่อยู่ภายในตัวของเรา นั่นคือ หัวใจของเรา..
                               นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นน้ำผึ้งที่หวานในปาก ทรงเป็นบทเพลงที่ไพเราะอยู่ในหู ทรงเป็นความชื่นชมยินดีที่อยู่ในหัวใจ

บทอ่านและการรำพึง  (มธ 7, 24-27)

                  พระวรสารตอนนี้ดูเหมือนเป็นบทสรุปของบทเทศน์บนภูเขา ซึ่งนักบุญมัทธิวชี้ให้เห็นถึงความยุธรรมที่ยิ่งใหม่             ที่สุดก็คือ ความรัก และการประปฏิบัติ สำหรับผู้มีความเชื่อในพระเจ้า..

      ซึ่งมีภาพ ๓ ภาพที่สำคัญ ที่เหมาะสำหรับการรำพึงไตร่ตรอง
                ภาพของถนน ๒ สาย  คือถนนกว้างและถนนแคบ
                ภาพของต้นไม ๒ ต้น คือ ต้นไม้ดีและต้นไม้เลว
                ภาพของบ้าน ๒ หลัง คือ บ้านบนหิน และบ้านบนทราย

มีคำกริยาที่สำคัญคือ  ฟัง และ ทำ  หมายถึง พระวาจาและการกระทำ 

                      แน่นอนว่า มันเป็นความยากลำบากที่จะทำให้เป็นจริง และสอดคล้องกัน 
                     การทำให้พระวาจาที่ได้รับฟังเป็นจริงในภาคปฏิบัตินั้น มันเป็นเหมือนกับอุปสรรค และความทุกข์ทรมาน 
                     ยากที่จะเลือกว่า ทางไหนไปหาพระเจ้า ทางไหนออกห่างจากพระองค์  
                     ยากที่จะรู้ว่า ทำความดีแล้วเกิดผลดี ทำความชั่วแล้วจะเกิดผลที่ดีด้วย  
                    ยากที่จะสร้างบ้านบนหิน และง่ายกว่าที่จะสร้างบ้านบนทราย..
ชีวิตของเราก็เป็นแบบนี้แหละ..
                   แล้วพระวรสารต้องการบอกอไรแก่เรา  บอกกับเรา ในเวลานี้  ในขณะนี้

                              ..การกลับใจ..

                         แน่นอนในชีวิตของเรามีความยากลำบากทั้งนั้น แต่เรา ต้อง กลับใจ  การกลับใจ..
                        เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้  
                        การกลับใจเป็นการหันตัวเองไปหาพระเยซูเจ้า  หันตัวเองไปสู่ทางของพระองค์ ตามพระประสงค์ของพระองค์
                     ฉะนั้น เราจะต้องเดินตามเส้นทางของพระเจ้า  ด้วยการฟังพระวาจา ทำให้พระวาจาสอดคล้องกับชีวิต 
                     และโดยเฉพาะชีวิตในการกระทำ

การภาวนา

ปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นการภาวนา
ปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นการสรรเสริญ
ปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นการสนทนา
ปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นการอยู่กับพระองค์



วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

การไตร่ตรอง.. บทเทศน์ พระสังฆราช ENRICO DAL COVOLO

 "จงฟังเถิด" บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์

วันที่ ๓ มกราคม ๒๐๑๑


ในการฝึกปฏิบัติของพวกเรามีสองรูปแบบที่ใช้คือ เนื้อหาและวิธีการ

เนื้อหา.. เราจะมองดูประวัติศาสตร์ของกระแสเรียกการเป็นสงฆ์ของเรา
โครงสร้างในพระคัมภีร์จะเป็นดังนี้
          การเรียกและการเลือกจากพระเจ้า
          การตอบรับต่อการเรียก
          พันธกิจ
          ความยากลำบาก การผจญ การทดลอง ความสงสัยในการเรียก
          การยืนยันจากพระเจ้า

วิธีการที่ใช้.. Lectio divina
      Lectio       การอ่านพระวาจาพระเจ้า
      Mediatio   การำพึง
         Oratio       การภาวนา
         Contemplation  การพิจารณาไตร่ตรองนำไปใช้


เวลา ๐๙.๑๐ น.

การกระทำแรกเริ่มในประวัติศาสตร์ทางพระคัมภีร์ของกระแสเรียก นั่นคือ การเรียกของพระเจ้า

๑. ในปฐมกาล กระแสเรียกคือพระหรรษทาน
๒. พระวาจา เทียบ ๑พกษ ๑๙: ๑-๒๑
๓. การรำพึง
๔. สำหรับการภาวนาและสำหรับชีวิต



๑ กระแสเรียกเป็นพระหรรษทาน..
    พระเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่ง และกระแสเรียกก็มีจุดเริ่มต้นจากพระองค์.. 
         ฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องมุ่งไปสู่ศูนย์กลางของการไตร่ตรองของเรา นั่นก็คือ ธรรมล้ำลึกของพระเจ้า..
          ผ่านทาง lectio divina ซึ่งหล่อเลี้ยงประสบการณ์แห่งความเชื่อของบรรดาปิตาจารย์และของเราด้วย 
          “ไม่มีรูปแบบก็เป็นนักพรตที่ปราศจากพระวาจาของพระเจ้า 
          เพื่อที่จะยืนยันว่า  พระคัมภีร์เป็นเหมือนกัน สองพระหัตถ์ของพระเจ้า 
               ซึ่งได้สร้างเรา และได้สร้างเราอีกครั้ง..
            ให้เรามองดู ประกาศกเอลียาห์ ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของมนุษย์ที่แสวงหาพระเจ้า..

๒  บทอ่าน 1พกษ 19:1-21
ประกาศกเอลียาห์ถูกตามฆ่าจากกษัตริย์อาหับและพระมเหสี จึงได้หลบหนีไปในทะเลทราย 
และท่านก็เต็มไปด้วยความท้อแท้ใจ และความกระวนกระวายใจ ท่านปรารถนาที่จะตายอีกต่างหาก..
แต่ด้วยอาศัยอาหารที่ทูตสวรรค์นำมาให้ ท่านกินและเดินทางตลอด 40 วัน 40 คืน จนไปถึงภูเขาของพระเจ้า
พระเจ้าตรัสถามท่านว่า เอลียาห์ เจ้าทำอระไรอยู่?  เอลียาห์ตอบว่า ข้าพระองค์เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นสำหรับพระองค์ แล้วพระเจ้าก็บอกให้เอลียาห์ออกจากถ้ำเพื่อพบปะกับพระองค์..
แล้วพระเจ้าทรงประทับอยู่ที่ไหน?
ไม่ประทับอยู่ในลม
ไม่ประทับอยู่ในแผ่นดินไหว
ไม่ประทับอยู่ในไฟ
ที่สุด ประกาศกได้ยินเสียงแผ่วเบาในความเงียบ   แล้วพระเจ้าสั่งให้เอลียาห์ไปตามหนทางของตน

๓ การรำพึง
ให้เราพิจารณาดูว่า อะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเรื่องเล่าเรื่องนี้?
 ๓.๑  ทะเลทราย
           เป็นเหมือน เงามืดในยามค่ำคืน น่ากลัว และไร้ขอบเขต
           การอยู่ในทะเลทราย เอลียาห์ได้สนทนากับพระเจ้า นั่นคือ การทำตัวเองให้ว่างเปล่า.. 
          เพื่อจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า
                           ความว่างเปล่าในตัวเอง..เป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการพบปะกับพระหรรษทานของพระเจ้า
   สำหรับเรา.. เราทำตรงกันข้าม เราแสวงหา และพยายามสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายในชีวิต 
            เพื่อว่า ชีวิตของเราจะได้ไม่ว่างเปล่า..
              หลายครั้งเราก็ลืมส่วนที่สำคัญที่สุดไปในชีวิตของเรา และสูญเสียส่วนที่ดีที่สุดไป 
               นั่นคือ การนั่งอยู่แทบเท้าของพระเยซูเจ้าเพื่อรับฟังพระวาจาของพระองค์ 
           เมื่อเราละทิ้งตัวเอง พระหรรษทานของพระเจ้าก็จะเต็มเปี่ยมในชีวิตของเรา
๓.๒  อาหารของพระเจ้า
           เส้นทางในทะเลทราย คือ ความว่างเปล่าภายในตัวเอง 
           เพื่อรับพระหรรษทานของพระเจ้า เป็นประสบการณ์ซึ่งไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ 
           หากปราศจาก การเลี้ยงดูจากพระเจ้า..
                     ในทะเลทรายเราอาจจะหลงทางได้  เราอาจจะเผชิญกับสัตว์ที่ดุร้ายได้  
                     เราอาจจะตายเพราะความหิวและกระหายได้..
               แน่นอนว่า อาหารและน้ำจากสวรรค์เป็นเครื่องหมายถึงพระหรรษทานของพระเจ้า 
                     และเป็นเสบียงอาหารสำหรับผู้มีความเชื่อเสมอ
๓.๓  การพบปะกับพระวาจาของพระเจ้า
           ในส่วนหนึ่ง.. เป็นเวลานานที่พระเจ้าไม่ได้ตรัสอะไรเลยกับผู้รับใช้ของพระองค์ 
                 ในเวลานั้น เอลียาห์ต้องหลบหนี เหนื่อย และหมดความหวัง เพราพระเจ้าทรงเงียบอยู่.. 
                  แน่นอนว่า เอลียาห์ย่อมเจ็บปวดภายในจิตใจ เพราะในฐานะที่เป็นประกาศก 
                  หากแต่ปราศจากพระวาจาของพระเจ้า..
          ในอีกส่วนหนึ่ง..พระวาจาของพระเจ้าทำให้เกิดความเดือดร้อน
          และเรียกร้องมากจนเกินไป พระจาวาของพระเจ้าขุดเจาะลงไปถึงส่วนที่เร้นลับที่สุดในหัวใจของเรา 
                 แม้สิ่งที่ซ่อนอยู่ก็จะถูกเปิดเผย..

                    “เพื่อนเอ๋ย เจ้าทำอะไรอยู่ที่นี่ เจ้ามาที่นี่ทำไม?  เราจะตอบอย่างไร?
              ข้าพระองค์อยู่ที่นี่ในช่วงเวลาของการฝึกปฏิบัติชีวิตภายในนี้.. 
             ขอพระองค์ประทับอยู่เท่านั้น เพื่อข้าพระองค์จะได้กลายเป็นสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์...

๔  สำหรับการภาวนา และสำหรับชีวิต
                 จงพูดคุยกับพระเจ้าด้วยหัวใจ ต่อหัวใจ
                จงพูดคุยกับพระเจ้าจากชีวิตของเราเอง
               จงพูดคุยกับพระเจ้าแบบหน้าต่อหน้า
               จงเปิดตัวเองออกโดยปราศจากเงื่อนไขใดใดทั้งสิ้น
               จงเปิดตัวเองออกเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ ใหม่
              จงเปิดตัวเองออกเพื่อที่จะเชื่อฟังต่อพันธกิจที่ได้รับ
              จงเปิดตัวเองออกสู่พระเจ้า...

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

การไตร่ตรอง..บทเทศน์ "จงฟังเถิด" บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องกระแสเรียกของสงฆ์


วันที่ ๒ มกราคม ๒๐๑๑

บทนำ

"ขอทรงโปรดประทานสติปัญญาแก่ข้าพระองค์ด้วย เพื่อข้าพระองค์จะได้ปกครองคนของพระองค์อย่างยุติธรรม มิฉะนั้นแล้ว ข้าพระองค์จะปกครองคนมากมายเช่นนี้ได้อย่างไร?" (๑พกษ ๓,๙)

บทภาวนาของกษัตริย์ซาโลมอน.. เมื่อพระเจ้าทรงถามว่า "เจ้าต้องการอะไร.." และ กษัตริย์หนุ่มก็ขอสิ่งที่สำคัญที่สุด..

นั่นคือ หัวใจที่อ่อนโยน   หัวใจที่พร้อมจะรับฟังเสียงของพระเจ้า

ก่อนการเข้าเงียบ..สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ การภาวนาวอนขอพระหรรษทานจากพระเจ้า เพื่อเราจะได้ยินและฟังเสียงของพระองค์..

มันเป็นความยากลำบากของเราในการที่จะละทิ้งสิ่งที่เรียกว่า ความเคยชิน.. เราทำหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตประจำวัน อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ.. แต่กลับต้องมาหยุด และ ละไว้.. เชกสเปียร์ กล่าวว่า "ความเคยชินเป็นเหมือนสัตว์ประหลาด ที่สามารถทำให้ความรู้สึกดีดีกลายเป็นเพียงแค่ฝุ่นผงไปได้"

จำเป็นที่เราจะต้องมาคิด พิจารณาทบทวนดูชีวิตของเรา
ที่ผ่านมา เราเข้าเงียบหลาย ๆ ครั้งเป็นอย่างไรบ้าง?  เกิดผลมากน้อยแค่ไหนในชีวิต..

เราจะต้องเลียนแบบศิษย์ของพระเยซูเจ้าที่ขอร้องให้พระองค์สอนการสวดภาวนาที่ถูกต้อง..
เราเช่นกัน ควรที่จะอ้อนวอนให้พระองค์สอนการภาวนาแก่เรา

ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ไม่สามาถที่จะภาวนาได้ โปรดสอนข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระองค์เท่านั้นทรงเป็นการภาวนา
พระองค์ทรงภาวนาบนภูเขา ในเวลากลางคืน
พระองค์ทรงภาวนาในสวนแห่งความทุกข์ทรมาน
พระองค์ทรงภาวนาบนกางเขน
พระองค์ทรงเป็นอาจารย์ของการภาวนา
พระองจารย์ โปรดสอนข้าพระองค์ให้รู้จักการภาวนาด้วยเถิด..

พระเจ้าทรงฟังคำภาวนาของเราเสมอ พระองค์ไม่เคยที่จะเมินเฉย หรือละเลยการภาวนาของเรา
ตรงกันข้าม พระองค์ทรงเอาใจใส่ และเชื้อเชิญให้เราเข้ามาหาพระองค์

บรรดาศิษย์หลังจากกลับมาจากการทำภารกิจ การเทศน์สอน เหนื่อย..เหมือนกับชีวิตของเรา
มีหน้าที่ การงาน ความรับผิดชอบหลายอย่างในชีวิต... เหนื่อย
พระเยซูเจ้าเชื้อเชิญเรา.. เชิญมาพักกับเราสักหน่อยเถิด.. เพื่อท่านจะได้พักผ่อน..

เราจงแสวงหา และพำนักในพระองค์
กิจการต่าง ๆ ละไว้ และวางใว้ในพระหัตถ์ของพระองค์

ในการภาวนาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต..
เป็นเสมือนการติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้ทรงรักเราอย่างหาที่สุด

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

เดินยามราตรี..หลังคริสตมาส 2010

สถานที่ ๗  น้ำพุเตรวี่..

แม้ว่าอากาศจะเย็นหรือหนาวแค่ไหน?? ก็ไม่หวั่นไหว..พร้อมจะสู้.. เพราะมีแค่คืนนี้คืนเดียวเท่านั้น
น้ำพุที่นำความสุขสำหรับหนุ่มสาว และนักท่องเที่ยว..




สามหนุ่ม สามแบบ และหลากหลาย



เธอคนนี้.ผู้จัดการส่วนตัว.. คอยดูแล ทุกสิ่งและทุกอย่างจริง จริ๊ง...เด้อ





สถานที่ ๘ ปิอัสซ่าเวเนเซีย

ที่แห่งนี้..ทุก ๆ ปีจะมีการประดับประดาในโอกาสต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม
ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาให้กับกรุงโรมก็ว่าได้..




ไปด้วยกัน มาด้วยกัน..นั่งด้วยกัน เดินด้วยกัน เพราะเราก็มีแค่นี้.. แค่กันและกัน..








วันแต่ละวันผ่านไป..
สิ่งเดิม เดิม แม้จะเป็นเวลาดูเหมือนเดิม เดิม
แต่..ก็ได้เปลี่ยนไป

สิ่งต่าง ๆ เป็นประสบการณ์ทีไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก
ประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านไปแล้ว
เป็นอีกปีหนึ่งที่ผ่านไป เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พ้นผ่านไป.. ไม่มีอีกแล้ว

สิ่งดี ดี ประสบการณ์ดี ดี จะมีอีก..ในสถานการณ์และประสบการณ์ใหม่ ใหม่
ส่วนสิ่งดีดี เก่า เก่า กลายเป็นความทรงจำ.. กลายเป็นสิ่งที่ระลึกถึงได้ในอดีตเท่านั้น

เวลานี้..ไม่มีอีกแล้ว จะกลายเป็นประสบการณ์ใหม่ ใหม่ ในชีวิต..