ความสุข ใน พระเจ้า
พี่น้องที่เคารพรัก วันนี้ พระศาสนจักรเชิญชวนให้เราทำการสมโภชบรรดานักบุญทั้งหลาย
ซึ่งท่านเหล่านั้นอยู่บนสวรรค์กับพระเจ้า เป็นสภาพที่มีความสุขที่สุด
และการอยู่กับพระเจ้านี้เองที่เป็นเป้าหมายสำหรับชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่จะต้องมุ่งไปสู่สภาพเช่นนั้น
นักบุญ เป็นใคร?
นักบุญ คือ ทุกคนที่อยู่บนโลกนี้ที่ยอมหลั่งเลือดเพื่อพระเจ้า
ซึ่งในศต.แรก ๆ มีการเบียดเบียนคริสตชน ผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า
ผู้คนที่ยอมสละชีวิตแต่ไม่ยอมทิ้งความเชื่อ เรียกว่า มรณสักขี
นักบุญ คือ คนที่แยกตัวออกจากโลกและทำตัวเองให้ศักดิ์สิทธิ์ต่อหน้าพระเจ้า
นั่นคือ คนที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการปฏิญาณตัวเองและด้วยคำสัญญาต่อพระเจ้า
และเป็นผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า เช่น บรรดานักพรต
สังคายนาวาติกันที่ 2 นักบุญ คือ ผู้ที่ได้อยู่บนสวรรค์ เราเรียกว่า ชาวสวรรค์ เป็นผู้ที่ที่ได้อยู่กับพระเจ้า
เป็นผู้ที่ได้เห็นพระเจ้าแบบที่พระองค์ทรงเป็น ถึงแม้ว่าเขาเหล่านั้นยังไม่ได้กลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย
ก็ได้รับพระสิริรุ่งโรจน์แล้ว และเห็นพระเจ้าอย่างครบบริบูรณ์ทั้งสามพระบุคคลในพระเจ้าเดียว
ในพระศาสนจักรคาทอลิกของเรามีนักบุญว่า 800 องค์ และในจำนวนที่มากกว่าครึ่งหนึ่ง
ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่2
ทำไมพระองค์จึงให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งนักบุญ
เพราะว่า พระองค์ต้องการให้คาทอลิกหรือโลก มีความมั่นใจว่า
ความศักดิ์สิทธิ์มิใช่สิ่งที่หายากหรือเป็นคุณสมบัติของกลุ่มบุคคลที่ได้รับสิทธิพิเศษจริง ๆ
พระองค์ปรารถนาจะแต่งตั้งแม้บุคคลที่เพิ่งสิ้นชีวิตไม่นานก็ตาม เพื่อให้มีความสำนึกมากขึ้นว่า
ความศักดิ์สิทธิ์นั้นสามารถอยู่ในท่ามกลางพวกเรา
พี่น้องที่เคารพรัก บรรดานักบุญมีทั้งที่พระศาสนจักรแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
เพราะว่าชีวิตของท่านนั้นเป็นแบบอย่างที่ชัดเจนในความรัก ในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า
ที่บรรดาคริสตชนควรที่จะเลียนแบบ และยังมีบรรดานักบุญอีกเยอะแยะ
ที่พระศาสนจักรไม่ได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
บรรดานักบุญไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาแล้วเป็นนักบุญทันที ทุกคนมีความอ่อนแอ มีความบกพร่อง
มีบาปเหมือนกันกับเรา แต่ท่านก็สามารถเป็นนักบุญได้
เพราะการดำเนินชีวิตที่ใกล้ชิดกับพระเจ้า และดำเนินชีวิตอยู่ในหนทางของพระคริสตเจ้า
อีกทั้ง การปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อยู่เสมอ
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สมโภชนักบุญทั้งหลาย 2011
เขียนโดย don Pietro Virote Phosawang ที่ 15:47
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น