พระวรสาร มธ 20:20-28
20 มารดาของบุตรเศเบดีเข้ามาเฝ้าพระองค์พร้อมกับบุตร นางกราบลงทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์
21 พระองค์จึงตรัสถามนางว่า “ท่านต้องการอะไร” นางทูลว่า “ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้บุตรทั้งสองคนของข้าพเจ้า นั่งข้างขวาคนหนึ่ง นั่งข้างซ้ายคนหนึ่งในพระอาณาจักรของพระองค์”
22 พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านไม่รู้ว่ากำลังขออะไร ท่านดื่มถ้วย ซึ่งเราจะดื่มได้หรือไม่” เขาทั้งสองทูลตอบว่า “ได้
พระเจ้าข้า”
23 พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านจะดื่มถ้วยของเรา แต่การที่จะนั่งข้างขวาหรือข้างซ้ายของเรานั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะให้
แต่สงวนไว้สำหรับผู้ที่พระบิดาของเราทรงจัดเตรียมไว้”
25 พระเยซูเจ้าจึงทรงเรียกทุกคนมาพบ ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าคนต่างชาติที่เป็นหัวหน้า
ย่อมเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่น และผู้ใหญ่ย่อมใช้อำนาจบังคับ
26 แต่ท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น
ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น
27 และผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย
ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้
28 เหมือนกับที่บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์”
บทเทศน์
ผู้รับใช้และมรณสักขี
เอกลักษณ์ของการเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าก็คือ
การเป็นผู้รับใช้และการเป็นมรณสักขี พระเยซูเจ้าทรงสอนบรรดาศิษย์ของพระองค์เสมอ
ในเรื่องของการเป็นผู้รับใช้ เพราะว่า พระองค์มาในโลกมิใช่มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้
แต่มาเพื่อรับใช้ทุกคน พระองค์เป็นอาจารย์คนแรกที่ทรงล้างเท้าให้บรรดาศิษย์
เพื่อเป็นแบบอย่างให้บรรดาศิษย์ได้กระทำเป็นแบบอย่างในการที่จะรับใช้คนอื่น
รับใช้ทุกคน รับใช้แม้แต่คนที่ต่ำต้อยที่สุด
และพระเยซูเจ้าก็บอกว่า
การเป็นผู้ใช้นั้นในเวลาเดียวกันก็ต้องเป็นมรณสักขีด้วย ในที่นี้คือ การตายต่อตัวเอง
ตายต่อน้ำใจตัวเอง ตายต่อความสุขของตนเอง
เพื่อที่จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่งามต่อบุคคลอื่น
พระเยซูเจ้าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์บนกางเขนเพื่อเรา เพื่อเราจะได้รับความรอดพ้น
เพื่อช่วยเรา
ดังนั้น การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าจะต้องสร้างและแสดงเอกลักษณ์เช่นนี้ออกมาในชีวิตประจำวันของเรา
ให้โดดเด่นกว่าสิ่งอื่นใด
นักบุญยากอบอัครสาวก ท่านได้แสดงออกถึงการเป็นผู้รับใช้และมรณสักขี
ในฐานะที่ท่านเป็นอัครสาวกที่ใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้า
ท่านได้นำคำสอนของพระองค์และแบบอย่างของพระองค์มาปฏิบัติในชีวิต
เหมือนดังพระวรสารที่บอกกับเราในบทสนทนาของพระเยซูเจ้าว่า “ท่านจะได้ดื่มถ้วยที่เราจะดื่ม”
แน่นอนว่า นี่คือ การร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระเยซูเจ้า
และท่านก็ได้ทำจนตลอดชีวิตของท่าน
การที่คนหนึ่งร่วมทุกข์ร่วมสุขกับอีกคนหนึ่งย่อมแสดงให้เห็นว่า
คนนั้นมีความรักต่อกัน เราเองก็เช่นกัน เรามีก็ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระเยซูเจ้า
เพราะเราเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงรัก และเราก็รักพระองค์
คนแปลกหน้าจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนอื่นได้อย่าง
นอกจากคนในครอบครัวเดียวกันเท่านั้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น