BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้าเงียบประจำปี ๒๐๑๑

วันที่ ๔ มกราคม ๒๐๑๑

การไตร่ตรอง...บทเทศน์ พระสังฆราช ENRICO DAL COVOLO


"จงฟังเถิด"  บทสอนของพระเจ้าและพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์





3. การเรียกและการตอบรับเพื่อการทำพันธกิจ

ทั้งการเรียกและการตอบรับของมนุษย์มีเป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งไปสู่พันธกิจของพระเยซูเจ้า 
               ซึ่งพระองค์ทรงไว้วางใจในการเรียกของพระองค์
       มองดูพระนางมารีอา เป็นแบบอย่างของหญิงที่เปี่ยมไปด้วยพระหรรษทาน  หญิงที่เต็มไปด้วยการตอบรับ
              และหญิงที่ร่วมในการแบ่งปันพันธกิจขององค์พระบุตร

บทอ่าน มธ 18
ใครเป็นในอาณาจักรสวรรค์ แล้วพระเยซูเจ้าก็เรียกเด็กเล็ก ๆเข้ามา 
          ตรัสว่า ถ้าท่านไม่กลับเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย..
      ท่านทั้งหลายคิดอย่างไร ถ้าชายคนหนึ่งมีแกะอยู่ร้อยตัว แล้วแกะตัวหนึ่งบังเอิญหลงทาง 
       เขาจะไม่ปล่อยแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้บนภูเขา เพื่อค้นหาแกะตัวที่หลงไปหรือ  
              ถ้าเขาหาแกะตัวนั้นพบแล้ว เขาจะรู้สึกยินดีที่พบมัน มากกว่ายินดีในแกะเก้าสิบเก้าตัวที่มิได้พลัดหลง

การรำพึง   มองดูสิ่งที่เกิดขึ้น
ส่วนที่หนึ่ง
     คำถาม ใครเป็นใหญ่ในพระอาณาจักรสรรค์?  คำตอบของพระเยซูเจ้าคือ การเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่ง
            ในพระวรสาร น.ลูกา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงเมตตาสงสาร บิดาของลูกล้างผลาญ 
            ซึ่งละแกะ 99 ไว้ และตามหาแกะตัวที่หลงไป
           ใน พระวรสาร น.มัทธิว เรื่องเล่าค่อนข้างเกี่ยวกับผู้นำของกลุ่มคริสตชน 
                      ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะ ละสายตา จากลูกแกะได้ แม้จะเป็นตัวที่อ่อนแอที่สุดก็ตาม
           ในพระวรสาร น.ลูกา ได้เน้นที่ความรักความเมตตาของพระเจ้า
          ในพระวรสาร น.มัทธิว เน้นที่ภาระหน้าที่ที่ได้รับ แน่นอนว่าเป็นของพระเจ้า และก็เป็นของผู้อภิบาลด้วย

มีความหมายอะไรสำหรับเรา?
           เพื่อที่จะไม่เป็นที่สะดุด เพื่อที่จะไม่สามารถละสายตาจากลูกแกะที่อ่อนแอ เพื่อที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ตามพระวรสาร..
           ผู้อภิบาลและกลุ่มคริสตชน ต้องรักษาสมดุลทั้งภายในและภายนอกให้ได้ ความสมดุลในความต้องการ  
           ความสมดุลแห่งจิตใจ

ส่วนที่สอง
     คำถามของน.เปโตร ถ้าพี่น้องทำผิด ต้องยกโทษ 7 ครั้งพอหรือ?  คำตอบก็คือ ต้องยกโทษให้ตลอดไป...
 พระเยซูเจ้าต้องการจะบอกว่า ผู้อภิบาลและผู้นำกลุ่มคริสตชน รวมทั้งเราด้วย พระสงฆ์..
            จะต้องเป็นเหมือนกับพระองค์ คือ ใจเมตตา และใจให้อภัย  จำเป็นที่จะต้องให้อภัยเสมอและตลอดไป..

                                    การแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นเพียงเล็กน้อย ก็จะร่ำรวยในความรักและความเตตา

การเป็นผู้อภิบาลจำต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานของพระเยซูเจ้า โ
    ดยเฉพาะความสามารถในการให้อภัยอย่างไม่มีขอบเขต รักษาสมดุลของตนเอง ทั้งภายในจิตใจและภายนอก 
        เพราะภายในเป็นอย่างไร  ภายนอกก็เป็นอย่างนั้น

การภาวนาและชีวิต
           ทุกการเรียก ทุกการตอบรับมีเพียงจุดประสงค์เดียวคือ 
           การทำพันธกิจของพระเยซูเจ้า ซึ่งจะต้องเป็นไปจนถึงเนินเขากัลป์วาลิโอ 
         โดยเฉพาะกระแสเรียกของการเป็นสงฆ์ จะต้องผ่านจุดนี้  และดำเนินชีวิตละม้ายคล้ายกับพระองค์
                       ผู้อภิบาลและผู้นำกลุ่มคริสตชน ถูกส่งออกไปโดยพระเยซูเจ้า เพื่อเป็นเครื่องหมายของกางเขน 
                      นั่นคือ การให้อภัยปราศจากเงื่อนไข  นี่คือ ภารกิจ หรือ หน้าที่ที่เริ่มต้นในการประกาศพระวรสาร 
                      ซึ่งจะเป็นพยานสำคัญในชีวิตด้วยเครื่องหมายของกางเขน นั่นเอง

0 ความคิดเห็น: