BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทเทศน์เตรียมโปสตูลันต์ ท่าแร่ 4


เทศน์ 4
ชีวิตหมู่คณะ (Community Life)

ความสัมพันธ์เป็นเหมือนกาวที่รักษาพระศาสนจักรเข้าด้วยกัน มิตรภาพเป็นเหมือนการผูกมัดสมาชิกเข้าด้วยกัน
มีคนถามคนที่ที่มาวัดเสมอ ๆ ว่า มาวัดทำไม เขาตอบว่า เพราะว่าพ่อเจ้าวัดใจดี แล้วถ้าพ่อเจ้าวัดย้าย คุณจะมาวัดหรือเปล่า เขาตอบว่า มา เพราะว่า ฉันมีเพื่อนที่นี่
มิตรภาพ ความเป็นหนึ่งเดียว = ครอบครัว
การดำเนินชีวิตของผู้ถวายตน หรือ นักบวช สิ่งสำคัญคือ หมู่คณะ คือ การมีชีวิตกลุ่ม การมีเพื่อน การมีพี่ การมีน้อง สิ่งเหล่านี้ คือ ครอบครัว

นักบุญออกัสติน “ชีวิตหมู่คณะไม่ใช่การรวมตัวกันเป็นกลุ่มทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังมีความหมายทางเทววิทยาด้วย นั่นคือ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการแสวง ค้นหา การรัก และการเป้นพยายามถึงพระเจ้าในชีวิตของเรา” ความเป็นหนึ่งเดียวในพระคริสตเจ้าทั้งหมดมุ่งไปยังพระเจ้า
เราเป็นกลุ่มคริสตชนที่มารวมตัวกันแบบฟรี ๆ คือ เป็นอิสระเพื่อจะมุ่งไปยังพระเจ้า ดำเนินชีวิตในความเป็นหนึ่งเดียวแบบพี่แบบน้อง

พระตรีเอกภาพ เป็นความสมบูรณ์ของชีวิตความเป็นหนึ่งเดียว เป็นความสมบูรณ์ของความรักระหว่างพระเจ้าหนึ่งเดียว สามพระบุคคล นี่คือรูปแบบของเรา เราถูกเรียกมาเพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกันในความรัก ในหมู่คณะที่เต็มไปด้วยความสัมพันธ์และมิตรภาพ

คำสำคัญในชีวิตของหมู่คณะ
1.      Fraternity  ความเป็นพี่น้อง การร่วมเป็นพี่น้องกัน เป็นการขับเคลื่อนมาจากภายใน จากหัวใจ ผ่านทางการความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในแต่ะลบุคคล
2.      Community life การร่วมชีวิต การใช้ชีวิตด้วยกันโดยมีกฎ มีระเบียบ มีพระวินัยเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ มีจิตตารมณ์ของคณะเป็นการแสดงออกของการรับใช้กันและกัน

ข้อความในพระคัมภีร์ 7ข้อ
สดด 133:1 “เป็นการดีและน่าชื่นชมอย่างยิ่งที่จะอยู่รวมกันฉันพี่น้อง”
รม 12:4-5 “เพราะร่างกายของเรามีองค์ประกอบหลายส่วน และส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีหน้าที่เดียวกันฉันใด แม้เราจะมีจำนวนมาก เราก็รวมเป็นร่างกายเดียวในพระคริสตเจ้าฉั้นนั้น โดยแต่ละคนต่างเป็นส่วนร่างกายของกันและกัน”
มธ 18:20 “เพราะว่า ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา”
ฮบ 10:24-25 “เราจงพิจารณาหาทางให้กำลังใจกัน ให้มีความรักและประกอบกิจการดี อย่าขาดการเข้าร่วมชุมนุมกันดังที่บางคนเคยทำ แต่จงตักเตือนกัน จงทำเช่นนี้ให้มากขึ้น ดังที่ท่านเห็นแล้วว่าวันนี้ใกล้จะมาถึงแล้ว”
กท 6:2 “จงแบ่งเบาภาระของกันและกัน แล้วท่านก็จะปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระคริสตเจ้าอย่างสมบูรณ์”
1ธส 4:8 “ดังนั้น ผู้ที่ดูถูกคำเตือนนี้ ก็มิใช่ดูถูกเพียงมนุษย์เท่านั้น แต่ดูถูกพระเจ้าผู้ประทานพระจิตของพระองค์ให้แก่ท่านด้วย”
1ธส 5:14 “พี่น้องทั้งหลาย เราขอร้องท่านให้ตักเตือนแก้ไขผู้ขาดวินัย จงให้กำลังใจผู้หวาดกลัว จงค้ำจุนผู้อ่อนแอ จงอดทนต่อทุกคน”

ชีวิตความเป็นพี่น้องในหมู่คณะ
ความรักของพระคริสตเจ้าได้รวมบรรดาศิษย์ของพระองค์ให้เป็นหนึ่ง หนึ่งเดียวกัน เพื่อจะสามารถตอบรับต่อความรักของพระบิดาเจ้าได้ “ด้วยสุดหัวใจ สุดจิตใจ และด้วยสุดกำลังของพวกเขา” (เทียบ ฉธบ 6:5) และเพื่อจะได้รักรักเพื่อนมนุษย์ “เหมือนรักตนเอง” (เทียบ มธ 22:39)
ในหมู่คณะของเรา มีความหลากหลาย ความคิด เอกลักษณ์ รูปแบบชีวิต แต่ทุกคนก็เป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะเราทุกคนเกิดใหม่ เป็นพี่น้องกันไม่ใช่ด้วยเนื้อหนัง หรือ ร่างกาย ไม่ใช่มาจากความชอบ หรืออารมณ์ของมนุษย์แต่ เราเกิดใหม่และเป็นพี่น้องกันสืบเนื่องมาจาก “พระเจ้า” (ยน 1:13) จากกระแสเรียกที่พระเจ้าทรงเรียก
ชีวิตหมู่คณะเป็นชีวิตที่เป็นเครื่องหมายแรกของความรักต่อพระเจ้า ซึ่งเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงชีวิตของพระเจ้า
ชีวิตหมู่คณะเป็นรากและมีพื้นฐานอยู่บนความรัก ความรักเป็นราก หมายความว่า มันเป็นแหล่งที่มาของการเติบโตทางชีวิตจิตในชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า นักบวชไม่มีทางเลือกหากจะเติบโตทางชีวิตจิต เขาจะต้องเติบโตในการดำเนินชีวิตกับคนอื่น เท่านั้น

บทภาวนาของพระเยซูเจ้า
“ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนาเพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกันที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้าและข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาทั้งหลายอยู่ในพระองค์และในข้าพเจ้า” (ยน 17:21)

ชีวิตหมู่คณะ คือ โอกาสการฝึกฝนคุณธรรม
ความสุภาพถ่อมตน (humility)
การเชื่อฟังคำสั่งทำให้ฉันมีโอกาสในการฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักตัดสละความหยิ่งจองหอง และความเหย่อหยิ่งของตน รู้จักที่จะฟังเสียของคนอื่น ความคิดของคนอื่น แม้จะขัดใจตนก็ตาม
  
ความอดทน (patience)
การอยู่ด้วยกัน ความอดทนก็เป็นฤทธิ์กุศลหนึ่งที่จะต้องใช้เป็นประจำ เพราะเราจำต้องเข้าใจว่า ไม่มีใครทำตามใจเราได้ทุกอย่าง และไม่มีใครเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็นได้ เมื่อมีความขัดใจ ฝืนใจ ไม่พอใจ ต้องฝึกความอดทน (ไม่อยากล้างจาน ไม่อยากล้างห้องน้ำ เพื่อนพูดแล้วเจ็บใจ)
ความใจดีเมตตา (kindness)
การอยู่ด้วยใจ จำเป็นที่จะต้องมีความใจดี เมตตาต่อกัน รู้จักให้ รู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปัน มีใจกว้างต่อกันและกัน รู้จักบริการซึ่งกันและกัน
 ความรอบคอบ (prudence)
รู้จักคิดต่อพูด คิดก่อนทำ รู้จักไตร่ตรอง และรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ความรัก (charity)
ชีวิตหมู่คณะ เป็นชีวิตที่ต้องฝึกฝนความรัก “จงรักกันและกัน เหมือนอย่างที่เรารักท่าน” ฝึกฝนความรักแบบ agape ไม่ใช่ แบบ filia คือแค่มิตรภาพ 


0 ความคิดเห็น: